ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

 ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1


Abstract: บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู และ3) วิเคราะห์ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 291 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยมีค่าความตรงด้านเนื้อหาเท่ากับ 0.67-1.00 ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามด้านภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารของสถานศึกษา เท่ากับ 0.94 และด้านสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู เท่ากับ 0.98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย ภาวะผู้นำและวิสัยทัศน์ การเรียนรู้และการสอนงาน ผลผลิตและฝึกทักษะทางอาชีพ การสนับสนุน การจัดการ และการดำเนินการ สภาพสังคม กฎหมายและจริยธรรม และการวัดผลและการประเมินผล ตามลำดับ 2. ระดับสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู อยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน ประกอบด้วย การปฏิบัติงานโดยใช้สารสนเทศพื้นฐาน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศถูกต้องตามกฎหมาย จริยธรรม จรรยาบรรณและความปลอดภัย ตามลำดับ 3. ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ได้แก่ สภาพสังคม กฎหมายและจริยธรรม (X6) การสนับสนุน การจัดการ และการดำเนินการ (X4) การเรียนรู้และการสอนงาน (X2) และการวัดผลและการประเมินผล (X5) เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาของครู โดยสามารถร่วมกันทำนายได้ร้อยละ 82.70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ คือ Y ̂tot = 0.15 + 0.36 (X6) + 0.23 (X4) + 0.21 (X2) + 0.16 (X5)
Abstract: ABSTRACT This research aimed to: 1) study the level of school administrators’ technology leadership in schools; 2) study the level of the competency in education information technology of teachers; and 3) analyze the school administrators’ technology leadership in schools affecting the competency in education information technology of teachers. The sample was 291 government teachers in schools under Kanchanaburi Primary Educational Service Area Office 1, derived by proportional stratified random sampling as distributed by district. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher with the content validity between 0.67-1.00. The internal consistency reliability coefficients were 0.94 for technology leadership of school administrators and 0.98 for the competency in education information technology for teacher. Data were analyzed with percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression. The findings of this research were as follows: 1. Overall and in specific aspects, the school administrators’ technology leadership was at a high level. These aspects were leadership and vision; learning and teaching; productivity and professional practice; social, legal, and ethical issues; and assessment and evaluation, respectively. 2. Overall and in specific aspects, the teachers’ competency in education information technology was at a high level. These aspects were the basic use of information technology tools, the use of information technology in teaching and learning, the use of information technology to develop personal professional, and the use of information technology correct in social, ethical and human safety, respectively. 3. The school administrators’ technology leadership in the aspects of social, legal, and ethical issues (X6); productivity and professional practice (X4); learning and teaching (X2); and assessment and evaluation (X5) together predicted the teachers’ competency in education information technology at the percentage of 82.70 with statistical significance level of .01. The regression equation was: Y ̂tot = 0.15 + 0.36 (X6) + 0.23 (X4) + 0.21 (X2) + 0.16 (X5).
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: นครปฐม
Email: libnpru55@gmail.com
Created: 2021
Modified: 2564-11-17
Issued: 2564-11-17
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
tha
DegreeName: Master of Education
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
RightsAccess:

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1

การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี