ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

 ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2

Technology and innovation leadership of school administrators at Sukhothai Primary Education Service Area Office 2

Classification :.DDC: 371.2
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ ศึกษาสภาพปัจจุบัน และเปรียบเทียบโดยจำแนกตามการรับรู้ของครูและผู้บริหารสถานศึกษาของภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 ประชากรที่ใช้การวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู รวม 162 โรงเรียน จำนวน 1,375 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 116 คน ได้จากการสุ่มอย่างง่าย และครูจำนวน 292 คน โดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น รวมทั้งหมด 408 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัย เขต 2 มี 8 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความมีภาวะผู้นำมีวิสัยทัศน์ทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม 2. ด้านมีความรู้ความสามารถในการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรม 3. ด้านการบริหารงานโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม 4. ด้านการสนับสนุน ส่งเสริม การจัดโครงสร้างพื้นฐานการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร 5. ด้านใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการจัดการเรียนการสอน 6. ด้านการสร้างความตระหนักและความเข้าใจ จริยธรรมในการใช้งานเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่องค์กร 7. ด้านใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการพัฒนา ติดตามและประเมินผลการปฏิบัติงาน 8. ด้านความรู้ กฎหมายการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยปัจจุบันผู้บริหารสถานศึกษามีภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก การเปรียบเทียบภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุโขทัยเขต 2 จำแนกขนาดโรงเรียนตามการรับรู้ของครูและผู้บริหาร มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และระดับ 0.05
Abstract: This research aimed to examine the components, current conditions, and categorized comparison of the perception of teachers and educational executives on leadership in technology and innovation of educational executives in Sukhothai Primary Education Area 2. The research instrument used in this study was five-level rating scales. The population of this study included 1,375 of educational executives and teachers from 162 schools. The samples of 408 people consisted of 116 educational executive as selected from simple random sampling of 162 schools, and 292 teachers from stratified sampling. The data and statistical analysis in this research were percentage, standard deviation, analysis, and One-Way ANOVA analysis. The results showed that leadership in technology and innovation of educational executives in Sukhothai Primary Education Area 2 overall was at high level, and when considered for aspects, it could be described in descending orders as 1. creation of awareness and understanding of ethics in using technology and innovation in organizations, 2 leadership in technology and innovation, 3. knowledge and competency in using technology and innovation, 4. support, encouragement, and infrastructure for the use of technology and innovation, 5. implementation of technology and innovation in educational management, 6. knowledge on laws of technology and innovation, 7. administration with technology and innovation, and 8. use of technology and innovation for development, follow-up, performance evaluation. The comparison of leadership in technology and innovation of educational executives in Sukhothai Primary Education Area 2 by categorizing of perception by teachers and educational executives was statically significant at 0.01 and at 0.05.
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์. สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
Address: อุตรดิตถ์
Email: library@uru.ac.th
Role: อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์
Created: 2564-05-07
Modified: 2021-05-07
Issued: 2564-05-07
วิทยานิพนธ์/Thesis
application/pdf
CallNumber: ป-อต 371.2 ช116ภ
tha
©copyrights มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
RightsAccess:


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ภาวะผู้นำทางเทคโนโลยีของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทัศนะของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1

การบริหารสถานศึกษาด้วยภาวะผู้นำทางเทคโนโลยี