ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา
ชื่อวิทยานิพนธ์ | ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 Leadership of School Administrators Relating to the Effectiveness of Primary School under the Office of National Primary Education Commission in Educational Region 12 |
ชื่อนิสิต | วันชัย นพรัตน์ Not Available |
ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา | รศ ดร วชิระ ชาวหา ผศ ดร ไพรัตน์ วงษ์นาม |
ชื่อสถาบัน | มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย Burapha University. Chonburi (Thailand). Graduate School. |
ระดับปริญญาและรายละเอียดสาขาวิชา | วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต. การศึกษา (การบริหารการศึกษา) Master. Education (Education Administration) |
ปีที่จบการศึกษา | 2539 |
บทคัดย่อ(ไทย) | ~uความเป็นมา~u ในการจัดการดำเนินการของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา แห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 ปัจจัยที่จะส่งผลให้ประสิทธิผลของโรงเรียนประสบความสำเร็จก็คือ ผู้บริหารโรงเรียน ซึ่งจะต้องเป็นทั้งผู้นำด้านการบริหารโรงเรียน และด้านการจัดการเรียนการสอน พฤติกรรมของผู้นำจึงจำเป็นต้องคำนึงถึงบุคลากรในโรงเรียนให้เหมาะสมกับภาระกิจที่รับผิดชอบ ผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 12 ส่วนมากไม่ได้ผ่านการอบรมวิชาการบริหาร การศึกษา หรือสำเร็จการศึกษาด้านการบริหารการศึกษาโดยตรง ได้รับการแต่งตั้งโดยคัดเลือกหรือ ไต่เต้ามาจากครูผู้สอน จึงมีภาวะผู้นำหรือพฤติกรรมในการบริหารงานที่ไม่สนองความต้องการของ ครูเท่าที่ควร จากการศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีแนวคิดของแบส (Bass. 1985) ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับภาวะผู้นำไว้ 2 ลักษณะ คือ ภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพและภาวะผู้นำ แบบแลกเปลี่ยน ซึ่งเป็นภาวะผู้นำของผู้บริหารแนวคิดใหม่ ที่ทำให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาประสิทธิผล ของโรงเรียนให้พัฒนาเพิ่มขึ้น ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะนำแนวคิดของแบสเกี่ยวกับภาวะผู้นำมาศึกษา พฤติกรรมผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 12 ที่สัมพันธ์กับประสิทธิผลของ โรงเรียน และหาตัวพยากรณ์ประสิทธิผลจากภาวะผู้นำตามทฤษฎีของแบส ~uความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า~u 1. เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 ตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ จำแนกตาม ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 2. เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 ตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ โดยจำแนกตาม ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 3. เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 ตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ โดยจำแนก ตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 4. เพื่อเปรียบเทียบระดับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ การประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 ตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ จำแนกตาม ขนาดของโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 5. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำของผู้บริหารกับประสิทธิผลของโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 โดยจำแนก ตามขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 6. เพื่อสร้างสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียน จากภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 12 ~uวิธีดำเนินการศึกษาค้นคว้า~u การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ ได้ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนตามการรับรู้ของครู ผู้เป็นหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ โรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 12 ซึ่งประกอบไปด้วย จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด นครนายก ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว จำนวน 362 คน โดยศึกษาระดับภาวะผู้นำ ระดับประสิทธิผลของโรงเรียน และหาความสัมพันธ์ระหว่าง ภาวะผู้นำกับประสิทธิผลของโรงเรียน รวมทั้งหาตัวพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนจากภาวะ ผู้นำ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำของ ผู้บริหารและประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ตามการรับรู้ของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ แบ่งแบบสอบถามเป็น 3 ตอน คือ ตอนที่ 1 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวของผู้ตอบ และขนาดของโรงเรียน ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบเลือกตอบและเติมคำ จำนวน 3 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำตามทฤษฎีแบส ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยเรียงพฤติกรรมที่เกิดจากบ่อยมาก บ่อย บางครั้ง นานๆ ครั้ง และไม่เคยเลย จำนวน 71 ข้อ ตอนที่ 3 เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ลักษณะแบบสอบถาม เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยเรียงจากมากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด จำนวน 27 ข้อ แล้วนำข้อมูลไปวิเคราะห์ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรแกรม SPSS/PC(+) สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาคำตอบในการศึกษาค้นคว้า และเพื่อทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวน ทางเดียว สหสัมพันธ์อย่างง่าย สหสัมพันธ์พหุคูณ และการถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน แล้วทำการ แปลผล และนำเสนอเป็นตารางประกอบการบรรยายความเรียง ~uสรุปผลการศึกษาค้นคว้า~u 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 12 ตามการรับรู้ของ หัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ อยู่ในระดับปานกลาง โดยเมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน ภาวะผู้นำของ ผู้บริหารโรงเรียนขนาดใหญ่ อยู่ในระดับมาก ส่วนภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขนาดกลาง และขนาดเล็ก อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของหัวหน้า กลุ่มประสบการณ์ที่มีประสบการณ์ทั้งมากและน้อย อยู่ในระดับปานกลาง 2. หัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ที่อยู่ในโรงเรียนต่างขนาดรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหาร โรงเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) และหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ที่มี ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกันรับรู้ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนแตกต่างกันอย่าง ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษา ในเขตการศึกษา 12 ตามการรับรู้ของหัวหน้า กลุ่มประสบการณ์ อยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกตามขนาดโรงเรียน ประสิทธิผลของโรงเรียนขนาด ใหญ่และขนาดกลาง อยู่ในระดับมาก ส่วนประสิทธิผลของโรงเรียนขนาดเล็ก อยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ที่มีประสบการณ์ใน การปฏิบัติงานน้อย อยู่ในระดับมาก และผู้ที่มีประสบการณ์ในการปฏิบัติงานมาก อยู่ในระดับ ปานกลาง 4. หัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ที่อยู่ในโรงเรียนต่างขนาดรับรู้ประสิทธิผลของโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ที่มีประสบการณ์ในการ ปฏิบัติงานที่ต่างกันรับรู้ประสิทธิผลโรงเรียน แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 5. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน ประถมศึกษาในเขตการศึกษา 12 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<.05) เมื่อจำแนกตามขนาด โรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงานของหัวหน้ากลุ่มประสบการณ์ 6. ภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน ด้วยความมีบารมี (X(,1)) ด้านการให้รางวัล อย่างเหมาะสม (X(,5)) ด้านการกระตุ้นการใช้ปัญญา (X(,3)) และด้านการดลใจ (X(,2)) เป็นตัวพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในเขตการศึกษา 12 โดยมีอำนาจการพยากรณ์ เท่ากับ 29.59 เปอร์เซ็นต์ ดังสมการพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนประถมศึกษาในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ Y(^) = 2.281612+0.279860(X(,1))+0.067984(X(,5))+0.116899(X(,3))-0.123464(X(,2)) |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น